นายแพทย์วีรชาติ เลิศนิธิกุล ได้กล่าวไว้ว่า
"การแพทย์ทางเลือกหมายถึง การรักษาความเจ็บป่วยด้วยวิธีการใดๆก็ตาม ที่ไม่ใช่แผนปัจจุบัน
แต่ถึงแม้ไม่ใช่วิธีของแพทย์แผนปัจจุบัน
แต่ก็ได้อ้างอิงทฤษฎีการแพทย์แผนปัจจุบันหลายอย่าง
เพียงแต่วิธีการปฏิบัติอาจจะไม่เหมือนแพทย์แผนปัจจุบัน"
นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน์ ได้กล่าวไว้ว่า
"การแพทย์ทางเลือก
เป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย รักษา
และป้องกันโรคนอกเหนือจากศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย
และการแพทย์พื้นบ้านไทย"
ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การแพทย์ทางเลือกเป็นการแพทย์ ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบันหรือ การแพทย์กระแสหลัก(Conventional
Medicine) และไม่ใช่การแพทย์พื้นบ้านไทย(Indigenous Medicine) และก็ไม่ใช่การแพทย์แผนไทย(Traditinal
Medicine) ซึ่งก็คงจะเป็นศาสตร์ที่ผสมผสานทั้งวิชาการทางการแพทย์และวิชาการที่ว่าด้วยมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในทุกมิติ
การให้ความหมาย และความครอบคลุม ของการแพทย์ทางเลือก ในแง่ของศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย
รักษาและป้องกันโรค นอกเหนือจากศาสตร์ของการแพทย์ปัจจุบันนั้น
กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กระทรวงสาธารณสุขปี2545 ได้จัดไว้เป็นศาสตร์3กลุ่ม ดังต่อไปนี้
1.กลุ่มศาสตร์หรือเทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของธาตุและสารชีวภาพในร่างกาย
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มีมากมายได้แก่
1.2.สูตรอาหารต่างๆ อาทิเช่น อาหารแมคโครไบโอติคส์(Macrobiotics)
อาหารเจ อาหารมังสวิรัติ และอาหารสูตรเฉพาะสำหรับผู้ป่วย
1.3.วิตามินบำบัด(Megavitamin)
1.5.การล้างพิษ(Detoxification)
1.6.สารชีวภาพอื่นๆเช่น โฮมีโอพาธี (Homeopathy)
ไบโอ-โมเลคุลาบำบัด (Bio-Molecular Therapy) และการขับสารพิษ(Chelation
Therapy)
2.กลุ่มศาสตร์หรือเทคนิคของศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกายในส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อ
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มีมากมายได้แก่
2.1.การนวด ดัด และดึง ในแบบของวัฒนธรรมต่างๆ
2.3.การแพทย์จัดกระดูก(Chiropractic Medicine)
2.5.การออกกำลังกายแบบต่างๆเช่น โยคะ ชี่กง
และไท้เก๊ก
2.6.วารีบำบัด(Hydrotherapy)
3.กลุ่มศาสตร์ หรือเทคนิคของศาสตร์ เพื่อปรับสมดุลของพลังงานในร่างกาย และความสัมพันธ์ กาย-จิต
ศาสตร์ในกลุ่มนี้มีมากมาย ได้แก่
3.1.สมาธิในแบบของวัฒนธรรมต่างๆ
3.2.การเสริมสร้างพลังในวัฒนธรรมต่างๆเช่น
พลังกายทิพย์ พลังจักรวาล พลังออร่า พลังปิรามิด โยเร โยคะ
ไท้เก๊ก-ชี่กง พลังจิต การสะกดจิต จินตภาพบำบัด และเวทย์มนต์
3.3.การฝังเข็ม(Acupuncture)
3.4.การกดจุด(Reflexology)
3.5.ดนตรีบำบัด(Music Therapy)
3.6.สุคนธบำบัด(Aroma Therapy)
3.7.สนามแม่เหล็กบำบัด(Magnetic Field Therapy)
แนวทางดำเนินงานด้านการแพทย์ทางเลือกของกระทรวงสาธารณสุข
กองการแพทย์ทางเลือก
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก (Department for
Development of Thai Traditional and Alternative Medicine:DTAM) กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ดังต่อไปนี้(อ้างอิงจากเอกสารบรรยายของนายแพทย์วิชัย
โชควิวัฒน์ ซึ่งเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต)
1.การแพทย์แผนจีน(Chinese Medicine)
การแพทย์แผนจีนหมายความว่า
การกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัดโรค
การป้องกันโรค
หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย ตามศาสตร์และความรู้แบบแพทย์แผนจีน ที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา
หรือตามการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่าห้าปีของประเทศนั้น
และคณะกรรมการประกอบโรคศิลปะให้การรับรอง ซึ่งประกอบด้วยการฝังเข็ม
และการออกกำลังกายเช่น ไท้เก๊กและชี่กง
2.การแพทย์ทางเลือกอื่นๆ เช่นการรักษาทางกายภาพ(Physical
Therapy) ประกอบด้วย
2.1.การนวด(Massage)หมายถึงการจัดการกับเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษา
เช่น การนวดแบบไทย
และการนวดแบบสวีเดน(นิยามการนวดโดยสมาคมการนวดของอเมริกัน)
2.2.การฝังเข็ม(Acupuncture)
ที่ใช้ในผู้ปวดศีรษะไมเกรนและปวดศีรษะจากความเครียด
ถือเป็นทฤษฎีลมปราณฝังเข็มตำแหน่งจุดต่างๆ(Acupoint)
2.3.การกดจุด(Reflexology or Zone Therapy)
เป็นการนวดหรือใช้แรงกดบนฝ่าเท้า
ใช้เพื่อลดความเครียดและทำให้เกิดการผ่อนคลาย
2.4.การแพทย์จัดกระดูก(Chiropractic Medicine)
ซึ่งมีหลักเกี่ยวกับการไหลเวียนของพลังชีวิต
กระดูกสันหลังปกป้องไขสันหลังไว้
3.วารีบำบัด(Hydrotherapy)
3.1.วารีบำบัดภายนอก(External Hydrotherapy):Bath
and Douches
3.2.วารีบำบัดภายใน(Internal Hydrotherapy):Colonic
Irrigation and Enemas
4.โภชนบำบัด ประกอบด้วย แมคดครไบโอติคส์
อาหารเสริม และมังสวิรัติ
5.การบำบัดด้วยพืช(Plant-based Therapy) เช่น
Aroma Therapy
6.การบำบัดด้วยคลื่นและรังสี(Wave and Radiation
Therapy) เช่น Oregon Therapy ,Pyramid Therapy และManetic Therapy
7.การบำบัดทางจิตและวิญญาณ(Mind and Spiritual
Healing)
7.1.Biofeedback
ฝึกฝนเพื่อคุมองค์ประกอบต่างๆของร่างกายที่ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติตามความสมัครใจ
7.2.Hypnosis ภาวะที่จิตถูกสะกด
เป็นภาวะของจิตสำนึกที่เปลี่ยนแปลงไป
ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกในระหว่างภาวะปกติและภาวะถูกสะกดจิตจะกลับกัน
7.3.Mediation/Transcendental Mediation
มีลักษณะของการสร้างประสบการณ์ เริ่มจากการผ่อนคลาย
ปล่อยให้ความคิดในใจสงบลง
ทำให้ความคิดไปถึงระดับการคิดที่ละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้น
7.4.Psychodrama
มีพื้นฐานจากการที่คนเราต้องมีการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่อยู่เสมอ
8.Self Exerciseการออกกำลังกายประเภทต่างๆเช่น
Yoga, Tai Chi, and Dancing
ข้อมูลประกอบอ้างอิง http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2329
24/05/2545 |