อบเชยที่ใช้ปรุงอาหารจะใช้ชนิดหลอด (ม้วนเปลือกให้เป็นหลอด)
อบเชยเป็นสมันไพรที่มีกลิ่นหอม
รสสุขุมมีสรรพคุณช่วยย่อยและรักษากระเพาะลำไส้ต่างจากพริกและเครื่องแกงรสเผ็ดร้อนในต้มยำ
แม้จะช่วยอาหารอร่อย แต่จะทำให้แสบร้อนกระเพาะลำไส้
แบะเกิดแผลในทางเดินอาหารได้
โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวที่ร่างกายมีไฟธาตุสูง
ทั้งเปลือกอบเชยและน้ำมันอบเชยไม่ปรากฏว่ามีพิษข้างเคียงแต่อย่างใดเพราะในอดีตและปัจจุบันมีการใช้อบเชยในอุตสาหกรรมทำอาหารและขนมประเภทขนมปัง
คุกกี้ โดนัท ลูกอมดับกลิ่นปาก เป็นต้น
รวมทั้งอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางด้วย เช่น
ใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน ยาล้างปากและลูกอม ตลอดจนนำสารยูจีนอลที่แยกได้จากน้ำมันหอมระเหยของอบเชยไปใช้ทำเครื่องหอม
เป็นเครื่องปรุงในการผลิตช็อคโกแลต
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และผลไม้กวน เช่นเชอรี่ พรุนเป็นต้น
สรรพคุณที่กล่าวถึงในบทความนี้ทั้งหมด
คือส่วนที่ละลายน้ำได้
แต่ไม่ใช่น้ำมันที่กลั่นได้ (cinnamon
oil) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมแต่งกลิ่น เหล้า
ขนมหวาน สบู่ และยาเป็นต้น
อบเชยชนิดที่ม้วนเปลือกให้เป็นหลอดชาวตะวันตกนิยมมาใช้คนกาแฟ
ชา หรือโกโก้ เพื่อให้สาร MHCP
ละลายออกมาอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ หวังผลให้สาร MHCP
ไปการควบคุมระดับน้ำตาล
แต่เราไม่สามารถทราบถึงปริมาณของสาร MHCP
ที่ละลายออกมาได้
ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก
หากต้องการใช้ในการรักษาก็ควรทราบปริมาณที่ใช้ให้ชัดเจน
จึงควรมีการทำการวิจัยสารดังกล่าว
เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยในการกำหนดขนาดการใช้ต่อไป
อบเชยกับโรคเบาหวาน
มีผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่
2
ได้ เป็นผลงานวิจัยโดยดร.ริชาร์ด แอนเดอร์สัน
ได้แนะนำอาสาสมัครของเขาที่ป่วยเป็นเบาหวาน
ให้ลองใช้อบเชยเป็นประจำ
ปรากฏว่ามีอาสาสมัครนับร้อย
ได้รายงานผลดีกลับเข้ามาว่าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้
อบเชยช่วยเร่งให้การสันดาปน้ำตาลกลูโคสเพิ่มขึ้น
20
เท่า
นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าการกินอบเชยนั้นไม่มีอันตราย
แต่ถ้าหากการทดลองรับประทานเองแต่ละบุคคลนั้น หากได้ผลดีก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเกินคาด
ทั้งยังเป็นยาที่เป็นสารธรรมชาติ และในรายที่ไม่ได้ผลดี
ก็ไม่ได้มีอันตรายแต่อย่างใด
อบเชยทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบการให้สัญญาณอินซูลิน
(Insulin-Signaling System)
และอาจจะทำได้ดีกว่าเสียอีกโดยที่อบเชยสามารถทำงาน
ก่อนที่จะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์
สามารถใช้อบเชยร่วมกับอินซูลินได้ดี
นอกจากนี้ยังพบว่าสาร
MHCP
สามารถลดความดันโลหิตของสัตว์ทดลองได้
และมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีอีกด้วย
ดร.แอนเดอร์สัน
แนะนำว่าควรทดลองใช้
1/4
ช้อนชาถึง 1
ช้อนชาต่อวัน
เมื่อคำนวณดูแล้ว
1
ช้อนชาจะหนักประมาณ 1,200
มิลลิกรัม ดังนั้น ขนาด 1/4
ช้อนชา
จึงประมาณเท่ากับ
300
มิลลิกรัม สามารถบรรจุลงในแคปซูล
หมายเลข
1
ได้กำลังพอดี ขนาดที่ควรใช้ก็คือ
1
แคปซูล ทุกมื้ออาหาร วันละ 4
มื้อ
ในกรณีที่ใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่บิดามารดาเป็นเบาหวาน
ควรรับประทานพร้อมกับอาหารมื้อใหญ่
วันละ
1-2
เม็ด
ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารและขับลมได้ด้วย อบเชยชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ทดลองนั้นเป็นชนิดที่เข้าหาได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
มาจากเปลือกต้นอบเชยจีนคือ
Cassia
(Cinnamomum cassia)
ซึงคล้ายกับชนิดที่มีอยู่ในป่าบ้านเรา
อบเชยชวาจะใช้ได้ดีที่สุด
ล่าสุดจากการติดต่อโดยตรงกับดร.แอนเดอร์สัน
ได้รับทราบว่าผลการศึกษาวิจัยในคนถูกตีพิมพ์ในวารสาร
เดือนธันวาคม พ.ศ.2546
ผลที่ได้จากการให้อบเชยแก่ผู้ป่วยเบาหวานพบว่าผู้ป่วยมีระดับน้ำตาล
คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดีขึ้นระหว่าง
12-30 %
จึงเป็นผลที่ยืนยันการศึกษาวิจัยเดิมและน่านำไปใช้เพื่อป้องกัน
และใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานต่อไป |