ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยศาสตร์

Centella asiatica (Linn.) Urban.

ชื่อวงศ์

Umbelliferae

ชื่ออังกฤษ

Asiatic pennywort

ชื่อท้องถิ่น

ผักแว่น, ผักหนอก, ปะหนะ, เอขาเด๊าะ

 

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ

สารสกัดเอทานอลจากใบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างอ่อนในหนูขาว โดยไปยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ prostraglandin (1) เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากทั้งต้น ขนาด 0.1 และ 0.25 ก./กก. และ asiaticoside ขนาด 5 และ 10 มก./กก. พบว่ามีผลลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดอะซีติก โดยจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) (2) สาร saponin จากบัวบก จะลดอาการอักเสบและอาการบวมในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่หูด้วย croton oil (3) บัวบกมีสาร triterpenes หลายชนิด ได้แก่ asiaticoside, madecassic acid, madecassosid, asiatic acid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (4) สาร madecassoside จากบัวบก มีฤทธิ์ลดการอักเสบที่เกิดจากการที่ผิวหนังแบ่งตัวผิดปกติ (5) ขี้ผึ้ง Madecassol ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside สามารถลดการอักเสบ เมื่อใช้ทาที่ผิวหนังหนูซึ่งเกิดการอักเสบจากการฉายรังสี (6)

ยาเตรียมที่มีสาร asiaticoside ประกอบอยู่ 0.3% ที่ความเข้มข้นของยาเตรียม 0.5, 1 และ 1.5% มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ NF-kB การสร้าง IL-8 และ TNF-a ในเซลล์ human monocytes (THP-1) ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide รวมทั้งยับยั้งการสร้าง IL-2 ในเซลล์ Jurkat ที่ถูกกระตุ้นด้วย Phytochematoglutinin ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ สบู่เหลวล้างหน้าและตัว โลชั่น และซีรั่มทาผิว ที่มียาเตรียมผสมอยู่ 1, 1.5 และ 3% ตามลำดับ เมื่อนำมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง พบว่าสามารถลดการอักเสบของผิวหนังได้ (7)  ผงแห้งจากส่วนเหนือดินของบัวบก ให้คนรับประทาน สามารถลดอาการอักเสบได้ (8)  มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดบัวบกซึ่งประกอบด้วยสาร madecassoside และ terminoloside ในการนำมาใช้ในเครื่องสำอางและยาเพื่อลดการอักเสบ (9) และตำรับยาซึ่งมีบัวบกเป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้ในการรักษาการอักเสบของไตและกรวยไต กระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ (10)

2.        ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน

สารสกัดใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ (1:1) สามารถต้านอาการแพ้ได้   จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด หรืออักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อย (11)

3.        ฤทธิ์แก้ปวด

สารสกัด 60% เอทานอลจากใบ ขนาด 20 มก./กก (12) และสารสกัด 95% เอทานอลจากทั้งต้น ขนาด 100 มก./กก. (13) มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูขาวและหนูถีบจักร แต่สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นในขนาด 125 มก./กก. ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร (14)

4.     ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

สารสกัดเฮกเซนจากส่วนราก มีฤทธิ์ต้านเชื้อBacillus subtilis, Escherichia coli, Proteus vulgaris และ Pseudomonas cichorii  แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Salmonella typhimurium (15)  สารสกัดเอทานอล (16-18) และสารสกัดด้วยน้ำร้อน (16, 19) จากส่วนเหนือดิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus (16-19), b-streptococcus group A, Pseudomonas aeruginosa (18, 19) และ B.  subtilis (17)

สารสกัดเฮกเซน สารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดเอทิลอะซีเตท สารสกัดอีเทอร์ และสารสกัดเมทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S.  aureus, B. subtilis, Klebsiella aerugenes, P.  vulgaris แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ E. coli และ P.  aerogenase (20สารสกัดเมทานอลจากใบและลำต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus, E. coli, B. subtilis,และ P.  aeruginosa (21สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ (22, 23) และน้ำหมักชีวภาพจากใบ (23) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus (22, 23)

สารสกัดอัลกอฮอล์จากทั้งต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus, E. coli, B. subtilis, P.  aeruginosa และ S. typhimurium (24)  สารสกัด 95% เอทานอล ไม่ระบุส่วนสกัด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Aeromonas hydrophila ได้ โดยมีค่า MIC 312.5 มก./มล. (25)  น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุความเข้มข้น (26, 27) และความเข้มข้น 0.05% (28) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ B. subtilis, P. aeruginosa, Shigella sonnei (26), S. aureus (26, 28)และ E. coli (26-28)  สาร oxyasiaticoside ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ asiaticoside สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคในหลอดทดลอง และสามารถลดปริมาณแผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรคในตับ ปอด ปมประสาทของหนูตะเภาที่ทำให้เป็นวัณโรคได้ (29)

5.  ฤทธิ์สมานแผล

สารสกัด 95% เอทานอลจากใบ ขนาด 1 มล./กก. พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจน เมื่อให้ทางปากและทาที่แผลของหนูขาว (30) สารสกัดจากบัวบก (titrated extract) ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผล (31, 32) โดยจะเร่งการสร้าง connective tissue เพิ่มปริมาณคอลลาเจน และกรด uronic ในหนูขาว (31)  และกระตุ้นการแสดงออกของยีนในเซลล์ human fibroblast ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือดและเนื้อเยื่อประสานในบริเวณที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย (32)  เมื่อนำสารสกัดมาใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาแผลในหนูขาว พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแผลมีขนาดเล็กลง แต่ถ้าใช้รับประทานจะไม่ได้ผล (33) ขณะที่รายงานบางฉบับ พบว่าเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดในขนาดวันละ 100 มก./กก. มีผลในการรักษาแผลโดยทำให้การสร้างผิวหนังชั้นนอกเร็วขึ้น และบาดแผลมีขนาดเล็กลง (34)

ครีม ขี้ผึ้งและเจลที่มีสารสกัดน้ำจากบัวบก 5% เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูขาว 3 ครั้ง/วัน นาน 24 วัน พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจนและเพิ่ม tensile strength ซึ่งสูตรที่อยู่ในรูปเจลจะให้ผลดีกว่าขี้ผึ้งและครีม (35) เจลที่ละลายน้ำได้ (hydrogel) ที่มีสารสกัดจากบัวบก (titrated extract) ซึ่งประกอบด้วย asiaticoside, asiatic acid และ madecassic acid  มีฤทธิ์สมานแผลได้ โดยจะลดขนาดของแผลที่ผิวหนังของหนูขาวใน 9 วัน (36) และเจลที่มีสารสกัดบัวบกอยู่ 0.5, 1 และ 2% มีฤทธิ์สมานแผลในเยื่อบุผิวในปากได้ (37)

สาร asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผล เร่งการหายของแผล เมื่อทดลองในหนูขาว (38-40) หนูถีบจักร (41, 42) และในคน (43) เมื่อให้สาร asiaticoside ขนาด 1 มก./กก. ทางปากแก่หนูตะเภา และใช้ทาที่ผิวหนังในหนูตะเภาปกติและหนูขาวที่เป็นเบาหวานซึ่งแผลหายช้า ที่ความเข้มข้น 0.2% และ 0.4% ตามลำดับ พบว่ามีผลเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ ( tensile strength) เพิ่มปริมาณของคอลลาเจน และลดขนาดของแผล (44) tincture ที่มี asiaticoside เป็นส่วนประกอบ 89.5% จะเร่งการหายของแผล เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูตะเภา (45) สาร ethoxymethyl 2-oxo-3,23-isopropylidene-asiatate ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ asiatic acid มีฤทธิ์ดีในการเร่งการหายของแผล โดยมีแผลเป็นเกิดขึ้นน้อยมาก (46)

สำหรับการทดลองในคน มีรายงานว่าครีมที่มีสารสกัดอัลกอฮอล์จากบัวบกเป็นส่วนประกอบ 0.25-1% สามารถช่วยรักษาและสร้างผิวหนังในคนสูงอายุ (47) ครีมที่มีสารสกัดจากบัวบก 1% สามารถรักษาแผลอักเสบและแผลแยกหลังผ่าตัดในผู้ป่วยจำนวน 14 ราย ภายใน 2-8 สัปดาห์ โดยพบว่าได้ผลดี 28.6% ผลปานกลาง 28.6% และผลพอใช้ 35.7% ไม่ได้ผล 1 ราย (48, 49) และรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยจำนวน 22 ราย ภายใน 21 วัน พบว่าขนาดของแผลจะลดลง มีแผลหายสนิท 17 ราย ยังไม่หายสนิท 5 ราย (50) tincture ที่อยู่ในรูป aerosol ซึ่งมี asiaticoside 89.5% เมื่อใช้ฉีดที่แผลของผู้ป่วยซึ่งเป็นแผลชนิดต่างๆ จำนวน 20 ราย พบว่าสามารถรักษาแผลหายได้ 16 ราย (64%) และทำให้อาการดีขึ้น 4 ราย (16%) โดยมีอาการข้างเคียงคือ การไหม้ของผิวหนัง (burning sensation) (45) เมื่อให้ผู้ป่วยที่เป็น postphlebitic syndrome รับประทานสารสกัด triterpenoid ในขนาด 90 มก./วัน นาน 3 สัปดาห์ พบว่าจะลดการเพิ่มจำนวนของการพบเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในเลือด (51)

ตำรับยาซึ่งมีส่วนสกัดที่ละลายน้ำได้จากบัวบกที่มี asiaticoside อยู่ 60% นำมาใช้ในการรักษาแผลบาดเจ็บ แผลผ่าตัด ไฟไหม้ แผลเป็น ผิวหนังหนา รวมทั้งลดการสร้างเนื้อเยื่อเส้นใยที่ผิดปกติของตับและไต (52) ยาเม็ดซึ่งมีสารซาโปนินจากบัวบกเป็นส่วนผสม มีผลในการเร่งการหายของแผล กระตุ้นการสร้าง granulation และหนังกำพร้าที่แผล (53)

6.   ทำให้เลือดหยุดเร็ว

สารสกัดบัวบกด้วยน้ำทำให้เลือดหยุดเร็ว activated partial thromboplastin time และ prothrombin time ลดลง (54, 55)

7.    ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

สารสกัดเอทานอลจากทั้งต้น มีผลต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก Trichophyton mentagrophytes  และ T. rubrum (56) ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำร้อน ไม่มีผลต้านเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ และเชื้อ Candida albicans (57)      น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Aspergillus niger, Rhizopus oryzae, Fusarium solani, Candida albicans และ Colletotrichum musae (27)

8.  รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

สารสกัดเอทานอลจากทั้งต้น  ขนาด 21.8 มก./กก. (58) และจากราก ขนาด 100 มก./กก. (59) สารสกัดน้ำจากทั้งต้น (60) และจากใบ (61) ขนาด 250 มก./กก. มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเครียดและกรดเกลือในเอทานอล (61) เมื่อป้อนสารสกัดจากทั้งต้น ขนาด 0.05, 0.1 และ  0.25 ก./กก. และสาร asiaticoside ขนาด 1, 5 และ 10 มก./กก. แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดอะซีติก พบว่ามีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยจะลดขนาดของแผล เพิ่มจำนวนของหลอดเลือดขนาดเล็กในเนื้อเยื่อ เพิ่มจำนวนและการแพร่กระจายของเซลล์ที่แผล นอกจากนี้ยังเพิ่มการแสดงออกของ basic fibroblast growth factor และกดการทำงานของเอนไซม์ myeloperoxidase (62)

   น้ำคั้นขนาด 200 และ 600 มก./กก. เมื่อป้อนให้หนูขาว วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล แอสไพริน ความเย็น และการผูกกระเพาะอาหารได้  น้ำคั้นที่ขนาด 600 มก./กก. จะเพิ่มการหลั่ง gastric juice mucin และเพิ่ม mucosal cell glycoproteins (63)  เมื่อให้น้ำคั้นขนาด 1, 2, 4 และ 8 ก./กก. โดยการฉีดเข้าลำไส้เล็กหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารในกระเพาะอาหารด้วย histamine และ carbachol  พบว่าไม่มีผลต่อการหลั่งกรด เอนไซม์เปปซิน เมือกที่ละลายในน้ำย่อย และเมือกที่เคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ถูกกระตุ้นด้วย histamine  แต่ที่ขนาด 4 และ 8 ก./กก. มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการหลั่งเมือกที่ละลายในน้ำย่อยที่กระตุ้นด้วย carbachol  น้ำคั้นขนาด 4 ก./กก. มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร ขณะที่ขนาด 8 ก./กก. จะลดการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ถูกกระตุ้นด้วย histamine (64)

การทดลองในคนพบว่า สารสกัดจากบัวบก (Madecassol) มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้เช่นกัน (65, 66)

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1. การทดสอบความเป็นพิษ

              ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดด้วย 50% เอทานอล เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาด 250 มก./กก. (67) และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือให้ทางปากของหนูขาว ขนาด 10./กก. (68) สารสกัด 70% เอทานอลมีค่า LD50 เท่ากับ 675 มก./กก. ในหนูขาวเพศผู้ (ไม่ระบุวิธีการให้) (69)  

      2. พิษต่อเซลล์

              สารไทรเทอร์ปีนส์จากทั้งต้น มีความเป็นพิษต่อเซลล์ fibroblast ของคน (70) สารสกัดเมทานอลและสารสกัดอะซีโตน ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ human lymphocyte (71)

      3. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                 สารสกัดอัลกอฮอล์มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในแบบที่ต้องการเอนไซม์จากตับกระตุ้นการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98, TA100 (72) โดยมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์แบบ frameshift เท่านั้น ไม่พบแบบ base-pair substitution สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดิน ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98, TA100 (73)

      4. พิษต่อระบบสืบพันธุ์ 

         น้ำคั้นจากทั้งต้น ขนาด 0.5 มล. มีผลคุมกำเนิดในหนูถีบจักร 55.60% (74) สารสกัดจากบัวบกขนาด 0.2 มล. ฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร พบว่าไม่มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน (75) สาร saponin จากทั้งต้น ขนาด 2% ไม่มีผลฆ่าเชื้ออสุจิของคน (76)

      5. ทำให้เกิดอาการแพ้

         สารสกัด 30% อีเทอร์ ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างอ่อนต่อผิวหนังหนูตะเภา (77) ในคนมีรายงานการแพ้และอักเสบต่อผิวหนัง เมื่อใช้ผงแห้ง (78) สารสกัดกลัยโคไซด์ 2% (79) สารสกัดน้ำ (80) สารสกัดจากทั้งต้น 2% (ไม่ระบุชนิดสารสกัด) และสารสกัด Madecassol ที่ประกอบด้วย asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside (81)  oinment ที่มีบัวบกเป็นส่วนประกอบ 1% ทำให้เกิด acute erythematobullous (82) การระคายเคืองต่อผิวหนังเกิดได้ทั้งการใช้พืชสดหรือแห้ง (83) อาการระคายเคืองต่อผิวหนังของบัวบกมีผลค่อนข้างต่ำ (84)

 

การใช้บัวบกรักษาอาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย

ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย (85, 86)

การใช้บัวบกรักษาแผล

ใช้ใบสดพอกแผลสด วันละ 2 ครั้ง (85)

เอกสารอ้างอิง

1.    Dunstan CA, Noreen Y, Serrano G, et al.  Evaluation of some Samoan and Peruvian  medicinal plants by prostaglandin biosynthesis and rat ear oedema assays.  J Ethnopharmacol 1997;57:35-56.

2.    Guo JS, Cheng CL, Koo MWL.  Inhibitory effects of Centella asiatica water extract and asiaticoside on inducible nitric oxide synthase during gastric ulcer healing in rats.  Planta Med 2004;70:1150-4.

3.    Bombardelli E, Patri G, Pozzi R.  Complexs of saponins and their aglycons with phosphilipids and pharmaceutical and cosmetic compositions containing them.  Patent:U S US 5,166,136, 1992:3pp.

4.    Vogel HG, De Souza N.J., D' Sa A.  Effect of terpenoids isolated from Centella asiatica on granuloma tissue.  Hoechst A.-G., Frankfurt/Main, Fed Rep Ger.  Acta Ther 1990;16(4):285-98.

5.    Lepetit J-C.  Madecassoside-immune regulation of psoriasis-like disorders by natural anti-inflammatory active ingredient.  SOFW Journal 2005;131(4):28, 30, 32, 34.

6.    Chen YJ, Dai YS, Chen BF, et al.  The effect of tetradrine and extracts of Centella asiatica on acute radiation dermatitis in rats.  Biol Pharm Bull 1999;22(7):703-6.

7.    Lee J, Jung E,Park B, et al.  Evaluation of the anti-inflammatory and atopic dermatitis-mitigating effects of BSASM, a multicompound preparation.  J Ethnopharmacol 2005;96:211-9.

8.    Dabral PK, Sharma RK.  Evaluation of the role of rumalaya and geriforte in chronic arthritis-a preliminary study.  Probe 1983;22(2):120-7.

9.    Loiseau A, Sene G,Theron E.  Extracts of Centella asiatica rich in madecassoside and terminoloside.  Patent: FR Demande FR 2848117, 2004:45pp.

10.Zhao L, Zhao J.  Chinese medicinal dripping pill for treating pyelonephritis, cystitis, and urinary tract infection, and its preparation method.  Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1857647, 2006:9pp.

11.Mokkhasmit M, Ngarmwathana W, Sawasdimongkol K, Permphiphat U.   Pharmacological evaluation of Thai medicinal plants. (continued).   J Med Assoc Thailand 1971;54(7):490-504.

12.Sakina MR, Dandiya PC.  A psycho-neuropharmacological profile of Centella asiatica extract.  Fitoterapia 1990;61(4):291-6.

13.Sarma DNK, Khosa RL, Chansauria JPN, Sahai M.  Antistress activity of Tinospora Cordifolia and Centella asiatica extracts.  Phytother Res 1996;10(2):181-3.

14.Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, et al.  Screening of Indian plants for biological activity: Part I.  Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

15.Srivastava R, Shukla YN, Darokar MP.  Antibacterial activity of Centella asiatica.  Fitoterapia 1997; 68(5):466-7.

16.Yang HC, Chaug HH, Weng TC.  Influence of several Chinese drugs on the growth of some pathologic organisms: preliminary report.  J Formosan Med Ass 1953;52:109.

17.Ray PG, Majumdar SK.  Antimicrobial activity of some Indian plants.  Econ Bot 1976;30:317-20.

18.อารีรัตน์ ลออปักษา สุรัตนา อำนวยผล วิเชียร จงบุญประเสริฐ.  การศึกษาสมุนไพรทีมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ (ตอนที่ 1).  ไทยเภสัชสาร 2531;13(1):23-35.

19.สุมาลี เหลืองสกุล.  ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองของสารสกัดจากสมุนไพร 6 ชนิด.  การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, สงขลา, 20-22 ตค. 2530: 522-3.

20.Samy PR, Ignacimuthu S.  Antibacterial activity of some folklore medicinal plants used by tribals in Western Ghats of India.  J Ethnopharmacol 2000;69:63-71.

21.Hamill FA, Apio S, Mubiru NK, Bukenya-Ziraba R, et al.  Traditional herbal drugs of southern Uganda, II: literature analysis and antimicrobial assays.  J Ethnopharmacol 2003;84:57-78.

22.ณัฐพันธุ์ ตันตินฤพงษ์ ตุลาภรณ์ ม่วงแดง.  การพัฒนาสบู่สมุนไพรต้านเชื้อ.  โครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล, 2000.

23.พิมพร ลีลาพรพิสิฐ สุมาลี พฤกษากร ไชยวัฒน์ ไชยสุต และคณะ.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางรักษาสิวจากน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากพืชไทย.  การประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3, นนทบุรี, 30 ส.ค.-3 ก.ย. 2549:40.

24.Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F.  Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties.  J Ethnopharmacol 1998;62:183-93.   

25.Chitmanat C, Phosing, Napanya W.  Preliminary study using traditional medical plants to enhance immunity in the Clarias hybrid (Clarias macrocephalus x Clarias gariepinus).  การประชุมวิชาการสมุนไพรไทยโอกาสและทางเลือกใหม่ของการผลิตสัตว์, กรุงเทพฯ, 15-16 ม.ค. 2547:177-80.

26.Oyedeji OA, Afolayan AJ.  Chemical composition and antibacterial activity of the essential oil of Centella asiatica growing in South Africa.  Pharm Biol 2005;43(3):249-52.

27.Minija J,Thoppil JE.  Antimicrobial activity of Centella asiatica (L.) Urb. essential oil.  Indian Perfumer 2003;47(2):179-81.

28.ฉันทนา อารมย์ดี และคณะ.  ผักพื้นบ้านอีสาน แร่ธาตุ น้ำมันหอมระเหย ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ และการกำหนดลักษณะเฉพาะทางวิธีโครมาโตกราฟฟี่.  รวมบทคัดย่องานวิจัย การแพทย์แผนไทยและทิศทางการวิจัยในอนาคต, สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2543:287-8. 

29.Boiuteau P, Dureuil M, Ratsimamanga AR.  Antitubercular properties of oxyasiaticoside (water-soluble derivatives of asiaticoside from C. asiatica).  Compt Rend Acad Sci 1949; 228(13):1165-7.

30.Suguna L, Sivakumar P, Chandrakasan G.  Effects of Centella asiatica extract on dermal wound healing in rats.  Indian J Exp Biol 1996;34(12):1208-11.

31.Maquart FX, Chastang F, Simeon A, et al.  Triterpenes from Centella asiatica stimulate extracellular matrix accumulation in rat experimental wounds.  Eur J Dermatol 1999;9(4): 289-96.

32.Coldren CD, Hashim P, Ali JM, et al.  Gene expression changes in the human fibroblast induced by Centella asiatica triterpenoids.  Planta Med 2003;69:725-32.  

33.Kaito T, Yasuzo H, Motohide H, Hajime F.  Effect of madecassol on wound healing.  Oyo Yakuri 1973; 7(6):833-43.

34.Poizot A, Daniele D.  Modification of the healing kinetics after iterative exeresis in the rat. Action of titrated extract of Centella asiatica (TECA) on duration of healing.  C R Hebd Seances Acad Sci, Ser D 1978;286(10):789-92.

35.Sunilkumar SP, Shivakumar HG.  Evaluation of topical formulations of aqueous extract of Centella asiatica on open wounds in rats.  Indian J Exp Biol 1998;36(6):569-72.

36.Hong S-S, Kim J-H, Li H, et al.  Advanced formulation and pharmacological activity of hydrogel of the titrated extract of C. asiatica.  Arch Pharm Res 2005;28(4):502-8.

37.Prasertvithykarn S, Chaichantipyuth C, Uruwannakul B.  Centella asiatica oral mucoadhesive gel.  Thai J Pharm Sci 1998;22(3):S16.

38.Rosen H, Blumenthal A, McCallum J.  Effect of asiaticoside on wound healing in the rat.  Proc Soc Exp Biol Med 1967;125(1):279-80.

39.Shim PJ, Park JH, Chang MS, et al.  Asiaticoside mimetics as wound healing agent.  Bioorg Med Chem Lett 1996;6(24):2937-40.

40.Velasco M, Romero E.  Drug interaction between asiaticoside and some anti-inflammatory drugs in wound healing of the rat.  Curr Ther Res Clin Exp 1976;19:121.

41.Boiteau P, Batsimamanga AR.  Asiaticoside extracted from Centella asiatica, its therapeutic uses in the healing of experimental refractory wounds, leprosy, skin tuberculosis and lupus. Therapie 1956;11:125-49.

42.Kim KK, Ksak ES, Lee GW, et al.  Preparation and skin permeation of poloxamer 407 hydrogel with extract of Centella asiatica-beta-cyclodextrin solid dispersion system.  Yakhak Hoe Chi 1998;28(1):15-23.

43.Thiers H, Fayolle J, Boiteau P, Ratsimamanga AR.  Asiaticoside, the active principle of Centella asiatica. in the treatment of cutaneous ulcers.  C R Congr Ass Sci Pays Ocean Indien, 3, Tananarive 1957, Sect G,1958:33.

44.Shukla A, Rasik, Jain GK, et al.  In vitro and in vivo wound healing activity of asiaticoside isolated from Centella asiatica.  J Ethnopharmacol 1999;65:1-11.

45.Morisset R, Cote NG, Panisset JC, et al.  Evaluation of the healing activity of hydrocotyle tincture in the treatment of wounds.  Phytother Res 1987;1(3):117-21.

46.Jeong B-S.  Structure-activity relationship study of asiatic acid derivatives for new wound healing agent.  Arch Pharm Res 2006;29(7):556-62.

47.Anon.  Skin texture improver.  Patent: Fr 1,433,383, 1966:3 pp.

48.วีระสิงห์ เมืองมั่น.  รายงานผลการวิจัยเรื่องการใช้ครีมบัวบก รักษาแผลอักเสบ.  การประชุมโครงการการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ในโรงพยาบาล, กรุงเทพฯ, 30 พค. 2526.

49.วีระสิงห์ เมืองมั่น.  การใช้ครีมใบบัวบกรักษาแผลอักเสบโดยการทาภายนอก.  หนังสือรวบรวมผลงานการวิจัยโครงการพัฒนาการใช้สมุนไพรและยาไทยทางคลินิค (2525-2536).

50.ศิริรัตน์ โกศัลยวัฒน์ จันทรา ชัยพานิช เกษียร ภังคนนท์.  การใช้ครีมใบบัวบก 1% รักษาแผลเรื้อรัง. สารศิริราช 2531;40(6):455-61.

51.Montecchio GP, Samaden A, Carbone S, et al.  Centella asiatica triterpenic fraction (Cattf) reduces the number of circulating endothelial cells in subjects with post phlebitic syndrome. Haematologica 1991;76(3):256-9.

52.Wang S, Lin F, Liang Z, et al.  Method for preparing sustained-release pharmaceutical comprising water-soluble extract of Centella asiatica.  Patent: Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1709401, 2005:9pp.

53.Song J, Zhang H, Li M, et al.  Manufacture of dripping pill containing total saponins of Centella asiatica.  Faming Zhuanli Shenqing Gongkai Shuomingshu CN 1701795, 2005:5pp.

54.Songsriphiphat K, Saengngam C, Saiwichian C, et al.   Effect of some medicinal plants on human blood-clotting in vitro.   Special project for the degree of B. Sc. (Pharm.), Faculty of Pharmacy, Mahidol Univ., 1968.

55.Ravivongse R, Triratana T, Thebtaranonth Y, Chiewsilp P.   The testing of herb's extraction in intrinsic pathway of hemostatic mechanism.   Report submitted to Mahidol University, Thailand, 1988.

56.Yang HC, Chaug HH, Weng TC.  Influence of several Chinese drugs on the growth of some pathologic organisms: preliminary report.  J Formosan Med Ass 1953;52:109-12.

57.Ikegami F, Sekine T, Iijima O, et al.  Anti-dermatophyte activities of “tea seed cake” and “Pegu-catechu”  Thai J Pharm Sci 1993;17(2):57-9.

58.Chatterjee TK, Chakraborty A, Pathak M, Sengupta GC.  Effects of plant extract Centella asiatica (Linn.) on cold restraint stress ulcer in rats.  Indian J Exp Biol 1992;30(10):889-91.

59.Sarma DNK, Khosa RL, Chansauria JPN, Sahai M.  Antiulcer activity of Tinospora Cordifolia Miers and Centella asiatica Linn extracts.  Phytother Res 1995;9(8):589-90.

60.Cheng CL, Koo MWL.  Effects of Centella asiatica on ethanol induced gastric mucosal lesions in rats.  Life Sci 2000;67(21):2647-53.

61.Tan PV, Njimi CK, Ayafor JF.  Screening of some African medicinal plants for antiulcerogenic activity: Part 1.  Phytother Res 1997;11(1):45-7.

62.Cheng CL, Guo JS, Luk J, et al.  The healing effects of Centella extract and asiaticoside on acetic acid induced gastric ulcers in rats.  Life Sci 2004;74(18):2237-49. 

63.Sairam K, Rao CV, Goel RK.  Effect of Centella asiatic Linn on physical and chemical factors induced gastric ulceration and secretion in rats.  Indian J Exper Biol 2001;39(2):137-42.

64.Chuangcham SEffects of expressed juice of fresh Centella asiatica (L.) Urban leaves on gastric secretion in rats.  รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2003.

65.Shin HS, Choi IG, Lee MH, Park KN.  Clinical trials of madecassol (Centella asiatica) on gastrointestinal ulcer patient.  Korean J Gastroenterol 1982;14(1):49-56.

66.Cho KH, Chung TJ, Kim SJ, Lee TH, Yoon CM.  Clinical experiences of madecassol (Centella asiatica) in the treatment of peptic ulcer.  Korean J Gastroenterol 1981;13(1):49-56.

67.Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Mehrotra BN, Ray C.  Screening of Indian plants for biological activity: part I.   Indian J Exp Biol 1968;6:232-47.

68.Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P.  Study on toxicity of Thai medicinal plants.  Bull Dep Med Sci  1971;12(2/4):36-65.

69.De Lucia R, Sertie JAA, Camargo EA, Panizza S.  Pharmacological and toxicological studies on Centella asiatica  extract.  Fitoterapia 1997;68(5):413-6.

70.Vecchaio AD, Senni I, Cossu G, Molinaro M.  Effect of Centella asiatica on the biosynthetic activity of fibroblasts  in culture. II.  Farm Ed Prat 1984;39(10):355-64.

71.Babu TD, Kuttan G, Padikkala J.  Cytotoxic and anti-tumour properties of certain taxa of Umbelliferae with special  reference to Centella asiatica (L.) Urban.  J Ethnopharmacol 1995;48(1):53-7.

72.แก้ว กังสดาลอำไพ วรรณี โรจนโพธิ์ ชนิพรรณ บุตรยี่การประเมินฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสมุนไพรไทยในรูปของยาตำรับสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและสมุนไพรบางชนิด โดยวิธีเอมส์เทสต์การประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 3, 3-4 สิงหาคม 2533:47-9.

73.Yen GC, Chen HY, Peng HH.  Evaluation of the cytotoxicity, mutagenicity and antimutagenicity of emerging edible  plants.  Food Chem Toxicol 2001;39:1045-53.

74.Dutta T, Basu UP.  Crude extracts of Centella asiatica and products derived from its glycosides as oral antifertility agents.  Indian J Exp Biol 1968;6:181-2.

75.Matsui ADS, Hoskin S, Kashiwagi M, Aguda BW, Zebart BE, Norton TR, Cutting WC.  A survey of natural products  from Hawaii and other areas of the Pacific for an antifertility effect in mice.  Int Z Klin Pharmakol Ther Toxikol 1971;5(1):65-9.

76.Setty BS, Kamboj VP, Garg HS, Khanna NM.  Spermicidal potential of saponins isolated from Indian medicinal  plants.  Contraception 1976;14(5):571-8.

77.Hausen BM.  Centella asiatica (Indian pennywort), an effective therapeutic but a weak sensitizer.  Contact  Dermatitis 1993;29(4):175-9.

78.Danese P, Carnevali C, Bertazzoni MG.  Allergic contact dermatitis due to Centella asiatica extract.  Contact  Dermatitis 1994;31(3):201.

79.Izu R, Aguirre A, Gil N, Diaz-Perez JL.  Allergic contact dermatitis from a cream containing Centella asiatica  extract.  Contact Dermatitis 1992;26(3):192-3.

80.Bilbao I, Aguirre A, Zabala R, Gonzalez R, Raton J, Diaz Perez JL.  Allergic contact dermatitis from butoxyethyl nicotinic acid and Centella asiatica extract.  Contact Dermatitis 1995;33(6):435-6.

81.Eun HC, Lee AY.  Contact dermatitis due to medecassol.  Contact Dermatitis 1985;13(5):310-3.

82.Morante JMO, Bujan JJG, Guemes MG, Bayona IY, Arechavala RS.  Contact dermatitis allergy due to the extract of Centella asiatica: report of a new case.  Acta Dermosifiliogr 1998;89(6):341-3.

83.Der  Marderosian A (ed.).  The review of natural products 2001.  Missouri:Facts and Comparisons, 2001:722pp.

84.Gruenwald J, Brendler T, Jaenicke C, et al. (eds.).  PDR for herbal medicines (2nd Edition).  New Jersey:Medical  Economic Company, 2000:858pp.

85.พระเทพวิมลโมลี.  ตำรายากลางบ้าน.  กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มงกุฎราชวิทยาลัย, 2524, หน้า 85.

86.เปี่ยม บุญยะโชติ.  ตำรายาไทยแผนโบราณ 3 ว่าด้วยโรคเด็กและสตรี.  กรุงเทพฯ:เกษมบรรณกิจ, 2515, หน้า 184.