English Version
หน้าหลัก สืบค้นข้อมูลวิจัย วิชาการ ประกันคุณภาพ สำนักบริหารวิชาการ เว็บจุฬาฯ    
ส่วนส่งเสริมและพัฒนาวิจัย
ความเป็นมา
นโยบายวิจัย
ประกันคุณภาพงานวิจัย
คณะผู้บริหาร
บุคลากร
ทุนสนับสนุนงานวิจัยและตีพิมพ์
ทุนพัฒนาอาจารย์/นักวิจัยใหม่
ทุนวิจัย
กลุ่มทำวิจัย
ผลงานวิจัย
แบบฟอร์ม
เรื่องควรรู้
ระเบียบข้อบังคับ
การขอสิทธิบัตร
จรรยาบรรณนักวิจัย
ความเป็นเจ้าของ(authorship)
หาค่า Impact Factor
FAQ
งานวิจัย
งานวิจัยของปีงบประมาณ 2548
ดูงานวิจัยย้อนหลัง 45 , 46, 47
ติดต่อเรา
research@chula.ac.th
Webboard
โทรศัพท์ 0-2218-0220
แผนที่ตั้ง
 
 
พบสรรพคุณ “เห็ดหลินจือ” ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโรคไต
 
 
เห็ดหลินจือ เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน ล่าสุดอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำสรรพคุณของพืชที่มากคุณค่าชนิดนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้อาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยไตลดลงและป้องกันภาวะเข้าสู่ไตวายได้
 
รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดเผยถึงสถิติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังว่ามีประมาณ ๒๕๐ คน ต่อหนึ่งล้านคนต่อปี ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่เข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้ายต้องเข้ารับการฟอกไตหรือเปลี่ยนไตอยู่ในอัตรา ๗% ต่อปี และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ๓ – ๕% ของผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจะมีความผิดปกติของไต สาเหตุของการเกิดโรคไตนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องร่วมกับสิ่งกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ได้รับสารพิษ ฯลฯ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไตวายขั้นสุดท้ายมาจากปัจจัยเสี่ยงคือ การเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูงปัจจุบันวิธีรักษาโรคไตจะรักษาโดยการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้ป่วยเป็นโรคไตร่วมกับการให้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากดภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ได้ผลในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการไตเรื้อรังขั้นรุนแรงจะมีการตายของเนื้อไต ในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้ายภายในระยะเวลา ๑๐ – ๑๕ ปี
 
 
 
รศ.พญ.ดร.นริสา กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาร่วมกับนักวิจัยหลายท่านได้นำไปสู่การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เห็ดหลินจือได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเป็นพิษที่มีอยู่ในเลือดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษาโรคต่างๆ จึงเป็นที่มาของการนำพืชสมุนไพรชนิดนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการดื้อต่อการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน โดยปกติแล้วเซลล์บุผิวหลอดเลือดในร่างกายของเราจะทำหน้าที่สร้างสารขยายหลอดเลือดทำให้เลือดแข็งตัวและหลอดเลือดไม่อุดตัน จากการศึกษาวิจัยโดยการตรวจสอบน้ำเลือดของผู้ป่วยในหลอดทดลองซึ่งมีเซลล์บุผิวหลอดเลือดพบว่าน้ำเลือดในผู้ป่วยจะทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดตายในอัตราที่สูง เนื่องจากในน้ำเลือดของผู้ป่วยมีสารกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดรวมไปถึงเซลล์ไตตาย ในขณะที่สารต้านการอักเสบจะลดต่ำลง แสดงให้เห็นถึงภาวะสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสียไป เลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงไตจึงพร่อง ทั้งนี้จากการศึกษาโดยการให้เห็ดหลินจือในรูปของแคปซูลแก่ผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบันคือยาขยายหลอดเลือด ผลการศึกษาพบว่าสารที่เสริมการอักเสบมีภาวะลดน้อยลง สารต้านการอักเสบมีภาวะที่สูงขึ้นและทำให้การตายของเซลล์บุผิวหลอดเลือดลดลง มีเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น อัตราการกรองของเสียเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันระดับของโปรตีนหรือไข่ขาวที่รั่วออกมาในปัสสาวะก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วยฟื้นฟูสมรรถนะการทำงานของไตได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยืดอายุการเข้าสู่ภาวะไตวายได้
 
รศ.พญ.ดร.นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
 
 
 
จุฬาสัมพันธ์ ปีที่ 48 ฉบับที่ 24 วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2548
 
 
Copyright @2006 Division of Research Development and Promotion Chulalongkorn University. All Rights Reserved