2. การขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (ซี เอ พี ดี)
โดยใช้เยื่อบุช่องท้องเป็นที่กรองของเสียในเลือดให้ออกมาในน้ำยาที่ใส่ไว้ในช่องท้อง
ผู้ป่วยต้องมาผ่าตัดฝังท่อพลาสติกไว้ในช่องท้องเพื่อต่อกับถุงน้ำยาและต้องได้รับการฝึกสอนจากแพทย์และพยาบาลที่เชี่ยวชาญเสียก่อน
จึงสามารถนำไปปฏิบัติต่อที่บ้านได้
3. การฟอกเลือด (การทำไตเทียม)
โดยใช้เครื่องฟอกเลือด
เป็นตัวกรองของเสียในร่างกาย
ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดเตรียมหลอดเลือด
และมารับการฟอกเลือดในโรงพยาบาลตามกำหนดสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
ผู้ป่วยที่รักษาโดยการฟอกเลือดต้องจำกัดอาหารประเภทฟัก ผลไม้
และอาหารเค็มโดยเคร่งครัด
ไม่สามารถรับประทานได้อย่างอิสระเหมือนผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีขจัดของเสียทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
การเลือกวิธีการรักษามีความแตกต่างกัน แพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคล
โดยดูจากอายุ พื้นฐานของโรค, ลักษณะหลอดเลือด, สภาพจิตใจและโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ
4. การปลูกถ่ายไต
คือ
การนำไตจากผู้บริจาค (ที่เสียชีวิตแล้ว, หรือยังมีชีวิตอยู่ เช่น
จากพี่น้อง พ่อแม่) มาผ่าตัดใส่ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ซึ่งแพทย์ที่รักษาจะต้องทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
คัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมและเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจก่อนทำการผ่าตัด
หลังทำผ่าตัดแล้วผู้ป่วยต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานไปตลอดระยะเวลาที่ไตยังอยู่ในร่างกาย
วิธีการรักษา 3 วิธีหลังนี้ใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายที่ทำการรักษาด้วยวิธีที่
1 ไม่ได้ผลแล้ว
บทสรุป
โรคไตก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่เชื่อว่าน่าจะมีมานานมาแต่โบราณ
ซึ่งเป็นโรคร้ายแรง ที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ในสมัยนั้น
เราจะเห็นได้ว่า
ปัจจุบันแม้นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะพิสูจน์ได้แล้วว่าโรคไตเป็นอย่างไร
มีสาเหตุมาจากอะไร จะรักษาอย่างไร
แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า นอกจากการให้ยาแล้ว
ยังควบคุมอาหาร โดยเลือกให้กินอาหารอย่างเหมาะสมกับโรค
สมุนไพรกับการรักษาโรค
มีการใช้มาแต่โบราณ ใช้เป็นทั้งอาหารเป็นทั้งยา
ชาวจีนโบราณรู้จักใช้เห็ดหลินจือ สายพันธ์สีดำเรียกว่า
เฮยจือ เอ๋าจือ
สรรพคุณ บำรุงไต
และทางขับปัสสาวะ
และยังคงใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันได้มีการศึกษาโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
โดยแพทย์จุฬาทดลองใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคไตวายเรื่อรัง
โดยระบุอย่างเป็นทางการแล้วว่า สามารถฟื้นฟูการทำงานของไตได้จริง