|
|
1.ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานจะปัสสาวะมากขึ้นและบ่อย
หิวน้ำบ่อย เนื่องจากน้ำตาลถูกขับออกทาง |
ปัสสาวะ ร่างกายมักจะอ่อนเพลียขาดน้ำ
เนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน |
|
|
2.
มีผู้ป่วยบางรายไม่ยอมใช้ยาควบคุมน้ำตาล
แต่จะใช้วิธีควบคุมอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะ |
ล้มเหลว
สังเกตได้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้จะกินอาหารเก่งแต่กลับไม่อ้วน
ในทางตรงกันข้าม น้ำหนักตัวกลับลดลง รูปร่างจะผอมลงจนมองดูผิดตา
และผู้ป่วยมักจะเข้าใจผิดคิดเอาเองว่า ที่ผอมลงเพราะเกิดจากคุมอาหาร |
|
|
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด
เพราะที่ผอมลงนั้นเกิดจากร่างกายไม่สามารถนำเอาน้ำตาล |
ไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน
และเมื่อร่างกายขาดพลังงานร่างกายก็เลยไปเอาพลังงานจากแหล่งอื่น
เช่นจากไขมันในร่างกาย
และจากโปรตีนตามกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำตาล
ตรงจุดนี้คือสาเหตุที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลง
ร่างกายผอมลงผิดปกติ และในที่สุดก็จะมีโรคแทรกตามมา |
|
|
3.
ผิวหนังจะแห้งมีอาการคัน
และมักจะเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือตามส่วนอื่น ๆ
ของร่างกาย |
และถ้าเป็นแผลก็จะหายช้า |
|
|
4.
มีตาพร่ามัว
เช่น สายตาสั้น เกิดต้อกระจก เรียกว่าเบาหวานเข้าตา
ทำให้ตาบอดได้ |
|
|
5.
มีอาการชาตามแขนและขาไม่รู้สึกเจ็บและมักจะเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย
เนื่องจากอาการชาทำให้ |
ไม่มีความรู้สึกเจ็บ บางรายอาจมีอาเจียน |
|
|
6. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
เนื่องจากน้ำตาลสูงอยู่นาน
ทำให้ระบบเส้นประสาทเสื่อม
ขาดความรู้สึกทางเพศ |
|
|
7. โรคหลอดเลือดหัวใจ
(Coronary
vascular disease)เบาหวาน
เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการ |
เสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก
เบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง
ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด
โรคหัวใจขาดเลือด
|
|
|
แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
ในผู้ป่วย เบาหวาน บางราย |
กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ
มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก
เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจาก
เบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก
|
|
|
การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็น เบาหวาน
|
คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน
เช่นอาการเจ็บหน้าอก
อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป
ดังนั้นผู้เป็น เบาหวาน
บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น
กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว
ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ
ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ |
|
|
8.
โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้เป็น เบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง
|
เพราะ เบาหวาน ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย
โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง
ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น
โรคเบาหวาน
จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ
2-4
เท่า
|
|
|
โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตได้จาก กล้ามเนื้อแขน
ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็น |
ครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก
สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว
ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ
วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้
กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ
มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด
หรือมีอารมณ์รุนแรง |
|
|
9.
โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ภาวะความ |
ดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดเสื่อม
เนื่องจากแรงดันเลือดที่ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น
ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น
และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่า 35 - 73 %
ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตได้สูง
กรณีที่เส้นเลือดในสมองแตก ปัจจุบันพบบ่อยมาก |
|
|
10. ทำให้เกิดโรคไต
อันเกิดจากโรคแทรกซ้อนที่หลอดเลือดเล็กที่เรียกว่า
Microvacular
อันเป็นสาเหตุ |
ทำให้เกิดโรคไต
เนื่องจากไตทำงานหนักเพราะไตต้องทำหน้าที่ขับน้ำตาลส่วนเกินในกระแสเลือด
และในที่สุดก็จะเกิดภาวะไตวาย
ต้องได้รับการฟอกไตทุกสัปดาห์ |
|
|
11.
เป็นแผลหายช้า
เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
(Diabetic neuropathy)
หากหลอด
|
เลือดเล็กๆที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ
ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้
เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว
และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง
จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค
และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่
Amputation
(หมายถึงการตัดแขนขาในที่สุด) |
|
|
ผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณร้อยละ 15%
จะเกิดแผลที่เท้าร้อยละ
14-24 % ของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะ |
ต้องถูกตัดขาอายุที่เกิดมักจะเกิน
65 ปี ขึ้นไป
|
และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เท้าคือคนที่มี
ปัจจัยเสี่ยง
ดังกล่าวข้างต้นคือ
เกิดจากภาวะแทรก |
ซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
เป็นสัญญาณที่เตือนว่าอาจจะมีโรคแทรกซ้อนที่เท้า
|