น้ำมันมะรุม
สรรพคุณใช้หยอดจมูกรักษาโรคภูมิแพ้
ไซนัสโรคทางเดินหายใจ ใช้หยอดหูฆ่าและป้องกันพยาธิในหู
รักษาอาการเยื่อบุหูอักเสบ รักษาโรคหูน้ำหนวก
ใช้ทาผิวหนังรักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราและเชื้อไวรัส รักษาโรคเริม
งูสวัด รักษาและบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น ใช้ทารักษาแผลสด หูด ตาปลา
ใช้ถูนวดบรรเทาอาการบริเวณที่ปวดบวมตามข้อ รักษาโรคไขข้ออักเสบ
เก๊าท์ รูมาติก เป็นต้น
ชะลอความแก่
กล่าวกันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่
เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้
คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน
(rutin และ quercetin)
สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein
และ caffeoylquinic acids)
ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ
และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ
การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย
ฆ่าจุลินทรีย์
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตโคไซด์และเบนซิลกลูโคซิโนเลตค้นพบในปี
พ.ศ. 2507
จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ
สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู
ปัจจุบันหลังจากค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร
Helicobactor pylori
กำลังมีการศึกษาสารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว
การป้องกันมะเร็ง
สารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน
(niazimicin)
จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง
โดยกลุ่มที่กินมะรุมเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม
ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จากการทดลอง
120 วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ 200
กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน
6
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก
ใบมะรุม
100 กรัม
(คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ.
2537)
พลังงาน 26
แคลอรี
โปรตีน 6.7
กรัม (2 เท่าของนม)
ไขมัน 0.1
กรัม
ใยอาหาร 4.8
กรัม
คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม
วิตามินเอ 6,780
ไมโครกรัม (3 เท่าของแครอต)
วิตามินซี 220
มิลลิกรัม (7 เท่าของส้ม)
แคโรทีน 110
ไมโครกรัม
แคลเซียม 440
มิลลิกรัม (เกิน 3 เท่าของนม)
ฟอสฟอรัส 110
มิลลิกรัม
เหล็ก 0.18
มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 28
มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 259
มิลลิกรัม (3 เท่าของกล้วย)
ทั้งนี้
กลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอลฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์
VLDL LDL
ปริมาณคอเลสเทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ
atherogenic index ต่ำลง ทั้ง 2
กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ
และหลอดเลือดแดงใหญ่ (เอออร์ตา) โดย
กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระเพิ่มขึ้น
ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย
ที่ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคนที่มีโรคอ้วนมาแต่เดิม
การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม
นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง
สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง
ฤทธิ์ป้องกันตับ
งานวิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยไรแฟมไพซิน
พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส
อะลานีนทรานมิโนทรานสเฟอเรส
อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ
โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin
กลุ่มควบคุมบวก)
มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาเหล่านี้
เอกสารอ้างอิง:
Natures
Medicine Cabinet by Sanford Holst
The Miracle Tree by Lowell Fuglie
LA times March 27th 2000 article wrote by Mark Fritz.
WWW.PUBMED.GOV. (Search for Moringa) (Antiviral Research
Volume 60, Issue 3, Nov. 2003, Pages 175-180: Depts. of
Microbiology, Pharmaceutical Botany, Pharmacology, Faculty of
Pharmaceutical Science, Chulalongkorn University, Bangkok.
นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่
29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน
2550 |