ทางเลือกใหม่ สธ.วิจัยสำเร็จ
ทำยารักษาโรคปวดหลัง
โรคปวดเมื่อย
เป็นโรคที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า
ในชีวิตของพวกเราไม่เคยมีอาการปวดเมื่อย
โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น
รวมไปถึงคนหนุ่มคนสาว หากจะอธิบายเป็นภาษาทางการแพทย์
โรคปวดเมื่อยเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย
และมักมีปัญหาทางจิตใจตามมา
ที่เกิดจากอาการเจ็บปวดแบบเรื่อรัง
หรือรุนแรงถึงขั้นสุดแสนทรมาน
บ่อยครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ
และเมื่อไม่ทราบสาเหตุ
แพทย์มักจะให้ยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์
ซึ่งมีผลข้างเคียงมากมายเช่น ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง
อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ
หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อน
มีผลทำให้กระดูกผุได้ และทำให้อ้วน ทำให้ขนดก
ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง
ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น
ดังนั้น
เราจะเห็นได้ว่าสารสเตียรอยด์
ไม่ส่งผลดีต่อผู้ใช้เพราะมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อ
วันที่
20 พ.ค.2550โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ได้ออกมาเปิดเผยการศึกษาวิจัยค้นคว้าสกัดสารสำคัญจากพืชสมุนไพร
เถาวัลย์เปรียง พบว่าเป็นยารักษาโรคปวดหลัง
ปวดตามข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เข่าเสื่อม
สามารถใช้แทนยาแผนปัจจุบันแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ได้อย่างปลอดภัย
ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ
พบว่าสมุนไพรเถาวัลย์เปรียงรักษาอาการปวดหลังปวดกล้ามเนื้อต่างๆได้ดี
รวมถึงอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
บอกว่า ถือเป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์สำคัญของกรม
ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาฤทธิ์ในสมุนไพรหลายชนิด
และทดลองสกัดในห้องปฏิบัติการเพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
ทดแทนการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และ จากการทดลองวิจัย
เถาวัลย์เปรียง
พบว่าสารสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวด
ต้านการอักเสบ สามารถใช้แทนยาแก้อักเสบประเภทสเตียรอยด์ที่เป็นยาแผนปัจจุบันได้จริง เพื่อรักษาโรคปวดหลังและปวดตามข้อได้
ทั้งนี้ได้ใช้เวลาทำการทดลองทางคลินิกในคน ทั้งระยะที่
1
และ
2
มานานเกือบ
10
ปี
ให้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ
โดยให้ยาแก่อาสาสมัครหลังอาหารวันละ
2
ครั้ง
นาน 2
เดือน ร่างกายสามารถดูดซึมยานี้ได้ดี
ไม่มีความเป็นพิษหรือผลข้างเคียง
อีกทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อีกด้วย
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า
เถาวัลย์เปรียงให้คุณประโยชน์ได้อย่างมากมาย
เถาวัลย์เปรียง
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Derris scandens Benth.
องค์ประกอบทางเคมีของลำต้นเถาวัลย์เปรียงเป็นกลุ่ม
ไอโซฟลาโวน กลัยโคซัยด์
(isoflavone
glycoside)และ
พรีนิลเลดเตดไอโซฟลาโวน
(prenylated
isoflavone )
มีคุณสมบัติ
รักษาอาการอักเสบปวดกล้ามเนื้อได้อย่างปลอดภัย
ข้อมูลประกอบเรื่อง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่
20
พฤษภาคม 2550
|