Home

ติดต่อเรา

สินค้าของเรา

แนะนำหนังสือเห็ดหลินจือกับการรักษาโรค

 

 
 
 
 
 

 ว่านชักมดลูก

 

      ว่านชักมดลูก เป็นพืชในสกุลเดียวกับขมิ้นชัน Curcuma comosa เป็นว่านชักมดลูกพันธุ์พื้นเมืองของไทย บางตำราเรียกว่า ว่านชักมดลูกตัวเมีย ส่วน Curcuma xanthorrhiza เป็นว่านชักมดลูกอีกชนิดหนึ่งแต่เป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย

บางตำราเรียกว่าว่านชักมดลูกตัวผู้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์จะคล้ายคลึงกัน แต่ C.xanthorrhiza เส้นกลางใบมีสีน้ำตาลอมแดง ขณะที่ C.comsoa เส้นกลางใบไม่มีสีน้ำตาลอมแดง

 
 
 
 

      ตามตำรายาแผนโบราณว่า หง้า รสฝาดเฝื่อน ชักมดลูกให้เข้าอู่ แก้มดลูกพิการ แก้ปวดมดลูก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้ไส้เลื่อน ปรุงยาแก้โรคกระเพาะอาหาร ลำไส้ แก้โรคมะเร็ง และฝีภายในต่างๆ

        เผยผลวิจัยสมุนไพร “ว่านชักมดลูก” พบมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นยาหรืออาหารเสริมสำหรับกลุ่มสตรีคลอดบุตร-สตรีวัยหมดประจำเดือน แถมยังพบด้วยว่า ช่วยบำรุงกระดูก ผิวพรรณและทำให้อวัยวะเพศหญิงเต่งตึง

        ศ.ดร.ภญ.ภาวิณี ปิยะจตุรวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ได้วิจัยการออกฤทธิ์ของสารสำคัญใน ว่านชักมดลูก พบว่ามีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงแต่ออกฤทธิ์อ่อนกว่า แพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาไทยนำมาใช้รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ มดลูกอักเสบ โดยเฉพาะการอักเสบหลังการคลอดบุตร นอกจากนี้ ยังพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของน้ำดีและเกลือน้ำดี ส่งผลให้ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล บำรุงกระดูก ผิวพรรณ ทำให้อวัยวะเพศหญิงเต่งตึง 

       อย่างไรก็ตาม ว่านชักมดลูกมีหลายสายพันธุ์ ปลูกหลายพื้นที่ ตนเองและคณะนักวิจัยจึงจัดทำโครงการรวบรวมสายพันธุ์ ปริมาณสารเคมีสำคัญในว่านชักมดลูก ปริมาณการใช้ที่เหมาะสม เพื่อเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการใช้อย่างยั่งยืน

          สำหรับรายงานการวิจัยว่านชักมดลูกพบว่า  มีส่วนที่ตรงกับสรรพคุณยาไทยนั้น เป็นงานวิจัยฤทธิ์ของว่านชักมดลูกชนิด C.comosa โดยพบว่า เมื่อฉีดสารสกัดเหง้าว่านชักมดลูกเข้าช่องท้องของหนูขาวเพศเมียที่ยังไม่โตเต็มที่ และถูกตัดรังไข่ออก พบว่าสารสกัดด้วยเฮกเซนมีฤทธิ์แรงที่สุดในการเพิ่มน้ำหนักมดลูก และปริมาณไกลโคเจน และยังทำให้เกิดการหนาตัวของเยื่อบุผิวช่องคลอด โดยมีฤทธิ์น้อยกว่าฮอร์โมนเอสตราไดออล ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง แต่สามารถเสริมฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสตราไดออลต่อมดลูกของหนูได้ แสดงให้เห็นว่าว่านชักมดลูกมีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง

        สารสกัดเหง้าด้วยเอธานอลสามารถลดฤทธิ์ของสารหลายชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้มดลูกหดตัว เช่น qzytocin, acetylcholine, serotonin ฤทธิ์นี้อาจช่วยอธิบายสรรพคุณของว่านชักมดลูกในการบรรเทาอาการปวดมดลูกได้ และแก้ปวดประจำเดือนได้

      การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดของว่านชักมดลูกทั้งสองชนิด  มีฤทธิ์การกระตุ้นการหลั่งน้ำดี และ    ลดคอเลสเตอรอลและไดรกรีเซอไรค์ในเลือดได้ จากการที่ว่านชักมดลูกมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งน้ำดี จึงไม่ควรใช้ในผู้ที่มีปัญหาท่อน้ำดีอุดตัน หรือเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และไม่ควรใช้ว่านชักมดลูกติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในขนาดสูง เพราะจะทำให้มีอาการปวดท้องได้   แต่เพิ่งเริ่มใช้ถ้ามีอาการปวดท้องแนะนำให้ลดขนาดการใช้ลง

 
 
 

 

หน้าต่อไป

 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983