ไลโคปีน (Lycopene) คืออะไร?

 

        ไลโคปีนจัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด ละลายได้ดีในไขมันเช่นเดียวกับเบต้าแคโรทีน มีรงควัตถุ (pigment) สีแดง พบได้ทั่วไปในมะเขือเทศสุก ฝรั่ง (pink guava) แตงโม ส้ม มะละกอ แครอท ส้มโอสีชมพู ฟักข้าว (หรือ Gac furit มีสารไลโคปีน มากกว่ามะเขือเทศถึง 20 เท่า) และในผักผลไม้สีแดงต่างๆ (ยกเว้นสตรอเบอร์รี่และเชอร์รี่) แต่ไม่พบในสัตว์

          ไลโคปีน เป็นสารสำคัญที่ร่างกายต้องการ  หากร่างกายขาดสารไลโคปีนหรือได้รับไม่เพียงพอ  โอกาสที่จะทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก  เนื่องจากไลโคปีนเป็นสาร แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) เซลล์มะเร็งดังกล่าว   

 
 
 
 

    
 

ดังนั้นเราจึงต้องรับประทานไลโคปีนเข้าไปจากผักผลไม้ หรืออาหารเสริม โดยไลโคปีนจะไปกระจายอยู่ทั่วไปในเนื่อเยื่อบริเวณที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่พบการสะสมของไลโคปีนมากที่ต่อมหมวกไต ลูกอัณฑะ และตับ

และจากการศึกษาวิจัยพบว่าไลโคปีนที่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน (heat processed-lycopene) เช่น การ สกัด การปรุงอาหาร ร่างกายจะสามารถดูดซึมนำสารไลโคปินไปใช้ได้ดีกว่าการรับประทานแบบสดๆ หรือแบบตากแห้งบดละเอียด

เพราะการใช้ความร้อนในการสกัด  หรือประกอบเป็นอาหารจะทำให้ไลโคปีนละลายออกได้มากขึ้น ทำให้ดูดซึมในระบบย่อยอาหารได้ดีกว่ารับประทานแบบสด  แบบบดแห้งถึง 2.5 เท่า ดังนั้นหากจะรับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับไลโคปีน จึงควรนำผักและผลไม้ผ่านการสกัดด้วยความร้อนหรือการทำให้สุกก่อนการรับประทานนั้นเอง

จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายของคนเราควรได้รับปริมาณไลโคปีน อย่างน้อย 6.5 มก.ต่อวัน ซึ่งเทียบได้กับการทานมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบในอาหาร 10 ครั้งต่อสัปดาห์

ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่าการได้รับไลโคปีนมากเกินไปหรือการกินต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน พบว่ามีผลเสียต่อร่างกายอย่างไร

ประโยชน์ของฟักข้าว

  1.  ฟักข้าว มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

  2. ช่วยในการชะลอวัย ป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ปัญหาผิวแห้งกร้าน ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด

  3. ฟักข้าวมีเบต้าแคโรทีนสูงกว่าแครอท 10 เท่า และมีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ 12-20 เท่า !

  4.  ประโยชน์ ฟักข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคเกี่ยวกับดวงตา โรคต้อกระจก ประสาทตาเสื่อม ตาบอดตอนกลางคืน (เยื่อเมล็ด)

  5. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด

  6. ช่วยป้องกันและช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือด

  7. ช่วยป้องกันเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

  8. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า ฟักข้าวมีโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอดส์ (HIV) และยังช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย ซึ่งได้ทำการจดสิทธิบัตรในประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  9. ประโยชน์ของฟักข้าว กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ฟักข้าวมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง ไวรัส ช่วยยับยั้งระดับน้ำตาลในเลือด และยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน

  10. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร และมะเร็งปอด

  11. งานวิจัยของมหาวิทยาลับฮานอย พบว่า น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ

  12. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้

  13. ช่วยในการขับเสมหะ ใช้กลั้วคอช่วยลดอาการเจ็บคอ หรืออาการอักเสบที่ลำคอ

  14.  ฟักข้าวเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้น หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโรคประจำตัวหรือร่างกายอ่อนแอ

  15. รากฟักข้าว ใช้แช่น้ำสระผม ช่วยทำให้ผมดกดำขึ้น แก้ปัญหาผมร่วง แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค และช่วยฆ่าเหาได้อีกด้วย (ราก)

  16. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ได้ทำการศึกษาร่วมกัน ในเรื่องของการนำน้ำมันเยื้อหุ้มเมล็ดของฟักข้าว มาพัฒนาเป็นเครื่องสำอางสูตรลดเลือนริ้วรอย ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จนได้รับรางวัล “IFSCC Host Society Award 2011″ จากงานประชุมสมาพันธ์นักเคมีเครื่องสำอางนานาชาติ

 
 

 

 

 
 

หน้าต่อไป

 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983