2. โรคลิ้นหัวใจพิการ
โรคหัวใจชนิดนี้อาจเป็นมาแต่กำเนิด
หรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ
และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
ทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง
เป็นสาเหตุทำให้ลิ้นหัวใจอักเสบและเกิดลิ้นหัวใจพิการตีบ รั่ว
ตามมา และอาจเกิดการติดเชื้อที่หัวใจตามมา
หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง แต่ผ่าตัดแก้ไขได้
3. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่แรกคลอด
แต่ในบางคนก็ไม่แสดงอาการใดๆ จนอายุมากขึ้นค่อยปรากฏให้เห็น
เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ
หรือตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์
โรคหัวใจชนิดนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
แต่เชื่อว่าอาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโดยเฉเพาะโรคหัดเยอรมัน
หรือ การได้รับสารเคมีบางชนิด ในระหว่างตั้งครรภ์อ่อน ๆ
และผู้ป่วยโรคหัวใจชนิดนี้สามารถผ่าตัดแก้ไขได้
แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้
4. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
โรคนี้มีหลายชนิด
บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิด
อันตรายมากและกลุ่มที่เป็นอันตราย
มักมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ
หลอดเลือดหัวใจร่วมด้วย ทั้งนี้ การเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ
สาเหตุเกิดจาก ระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น
มีจุดกำเนิดไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือเกิดทาง ลัดในระบบ (
เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร )
5. โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคนี้อาจเรียกว่าโรคหัวใจขาดเลือดก็ได้
เพราะหลอดเลือดหัวใจมีหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
และถ้าหลอดเลือดทำงานผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สำหรับสาเหตุที่เกิดโรคนี้
มีด้วยกันหลายสาเหตุ
แต่ที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันในเส้นเลือดสูง
มีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้ตีบตัน
6. มะเร็งที่หัวใจ
มะเร็งที่หัวใจพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจาก
อวัยวะที่เป็นมะเร็งอยู่ใกล้กันกับหัวใจแล้วลุกลามไปยังหัวใจ
เช่นมะเร็งที่ปอด หรือมะเร็งที่เต้านม เป็นต้น
7. การติดเชื้อที่หัวใจ
พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือติดยาเสพติดชนิดฉีด
โดยมากจะติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ทำให้รักษาได้ยากมาก
8. โรคเยื่อหุ้มหัวใจ
โรคนี้พบไม่บ่อย
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรีย หรือไวรัส
หรือเชื้อวัณโรค ทำให้เกิดการอักเสบ
โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้
ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ
สรุปโรคหัวใจในความเป็นจริงยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากคำว่า
โรคหัวใจ
มีความหมายที่กว้างมาก อาการที่เกิดจากโรคหัวใจ เช่น
อาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น ขาบวม เป็นลมวูบ
อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจเท่านั้น
ยังมีโรคอื่น ๆ อีก ที่อาการคล้ายกัน
ดังนั้นการพิจารณาวินิจฉัย ว่าจะเป็นโรคหัวใจหรือไม่
อาจต้องใช้วิธีพิเศษ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ
เอ็กซเรย์
การตรวจวัดคลื่นหัวใจ
เพื่อแยกชนิดโรคต่าง ๆ ที่มีอาการคล้ายกัน |