ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า
เพราะเหตุใดบรรดานักวิจัยต่างให้ความสนใจศึกษาและค้นคว้าองค์ประกอบทางเคมี
ผลทางชีวภาพและเภสัชวิทยาของเห็ดหลินจือ ในเรื่องของโรคตับ
และพบว่าภายในเห็ดหลินจือมีสารสำคัญทางยาที่ใช้รักษาโรคตับ
สามารถจำแนกสารได้หลายชนิดคือ
1.
กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์
(Polysaccharides)เป็นกลุ่มสารหลายชนิดที่มีสรรพคุณทางยาปกป้องตับจากสารพิษ
(Hepatoprotective
activity)โดยแสดงฤทธิ์ยับยั้งสารพิษ
เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ไม่ให้ทำลายเซลล์ตับ
นอกจากนี้กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์ ยังยับยั้งการเกิดโรคตับแข็ง (Hepatic
crrhosis)
มีผลดีต่อค่าชีวะทางเคมีที่เป็นตัวชี้การทำงานของตับ คือ
ลดระดับสารไฮดร็อกซีโพรลีน(Hydroxyproline)ในตับและลดระดับเอนไซม์
SGOT
SGPT
รวมถึง
alkali phosphatase
(
ALP
)
2.
กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์รสขม
(Bitter
Triterpenoids)
เป็นกลุ่มสารที่มีฤทธิ์ในการปกป้องและรักษาโรคตับ ประกอบด้วย
กรดกาโนเดอริค(
Ganoderic acid
)
และกรดลูซิเดนิค (Lucidenic
acid)
พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านสารพิษที่มีต่อตับ(Antihepatotoxie)และยับยั้งการเจริญ
เติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ (Cytotoxicty on hepatoma cells)นอกจากนี้พบว่ายังมีสาร
กาโนโดสเตอโรน(Ganodosterone)
เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการลดพิษที่มีต่อตับด้วย
โดยเฉเพาะในประเทศเกาหลีใช้เป็นยาบำรุงตับ
ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรเป็นยาเม็ด 50
mg.
มีข้อบ่งชี้ใช้กระตุ้นการทำงานของตับ(Liver
function stimulant)
เป็นยาที่ประกอบด้วยสารกาโนโดสเตอโรนของเห็ดหลินจือ
สรุป
ความเชื่อในเห็ดหลินจือที่มีผลต่อการรักษาและปกป้องตับคงช่วยให้ผู้ต้องการใช้มั่นใจได้ว่า
ไม่เพียงแต่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เชื่อว่าปกป้องและรักษาโรคตับได้
ยังมีการจดสิทธิบัตรสกัดเป็นยาเม็ดขาย รักษาและปกป้องตับ
ด้วยเหตุผลนี้การใช้เห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคตับจึงเป็นเรื่องที่เชื่อถือ
|