Home

สั่งซื้อสินค้า

คลิกดูสินค้า

ฟังรายการวิทยุเรื่องโรคความดันโลหิตสูง

 
 
 
 
 

       โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension) เป็นสะพานที่จะนำสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ถ้าเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองทำให้เส้นเลือดในสมองแตก ถ้ารุนแรงอาจทำให้ถึงแก้กรรมได้ และยังเป็นสะพานที่นำไปสู่การเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และถ้าความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหัวใจ โรคไตวาย

       เป็นนภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่ง โดยจะตรวจพบความดันโลหิต อยู่ในระดับที่สูงกว่าปรกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในปี 1999 ว่า ผู้ใดก็ตามที่มีความดันโลหิตวัดได้มากกว่า 140 /90 มม.ปรอทถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

      การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อันมีสาเหตุมากจากโรคความดันโลหิตสูง  เป็นภาระให้กับญาติที่น่าเห็นใจยิ่ง  ปัจจุบันยังไม่มียารักษาการเป็นอัมพาตให้หายขาดได้  ในรายที่รุนแรง  หมดโอกาสกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนปกติไปตลอดชีวิต

 

     ด้วยเหตุผลนี้จึงอยากบอกว่าอย่าได้มองข้ามโรคนี้เป็นอันขาด เพราะมันคือมหันต์ภัยเงียบที่อาจมาเยื่อนครอบครัวเราได้  ผู้ที่ป่วยเป็นอัมพาตจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  การกิน การขับถ่ายนับเป็นภาระที่ ญาติไม่อาจปฏิเสธได้

 

        โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงมักจะไม่รู้ตัวว่าเป็น เมื่อรู้ตัวว่าเป็นส่วนมากจะไม่ได้รับการดูแลรักษา ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากไม่มีอาการทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่อเริ่มมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงจะเริ่มสนใจและรักษา ซึ่งบางครั้งก็อาจจะทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร

      การควบคุมความดันโลหิตต้องทำให้เป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดโอกาสการเกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

     โรความดันโลหิตสูง  เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ต้องกินยา ควบคุมไปตลอดชีวิต  หากหยุดยาเมื่อไหร่ความดันของโลหิตอาจกลับมาสูงได้อีก  ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะมีโรคแทรกเข้ามาอีก 1 โรค  คือโรคหัวใจ  สรุปง่าย ๆ  ก็คือ  โรคความดันโลหิตสูงจะอยู่เคียงข้างไปกับโรคหัวใจ และส่วนใหญ่ในคนที่ป่วยด้วยโรคหัวใจมักจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน

 

 วามดันโลหิตคืออะไร

        คำตอบก็คือระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำงานร่วมกัน เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย  ซึ่งวัดได้ 2 ค่า  คือ

1. ความดันโลหิตค่าบน  คือ  แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวเข้า

2. ความดันโลหิตค่าล่าง  คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวออก 

ถ้าหัวใจและหลอดเลือดทำงานปกติ  ความดันของเลือดก็จะปกติ  แต่ถ้าหัวใจสูบฉีดเลือดไม่ดี  หรือหลอดเลือดเกิดตีบตันขึ้นมา  ระบบไหลเวียนของเลือดก็จะมีปัญหา

         การตรวจความดันสามารถตรวจได้ง่าย โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดดังกล่าวจะแสดงค่าของ ความดันโลหิตแบ่งออกเป็นสองตัว  คือ ค่าความดันโลหิตตัวบน   และค่าความดันโลหิตตัวล่าง

ค่าความดันโลหิตตัวบน   เป็นค่าความดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกมาเข้าสู่หลอดเลือด   ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่าง   คือค่าความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือด   ในขณะที่หัวใจได้คลายการสูบฉีดเลือดลงแล้ว  

ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงควรจำค่าความดันโลหิตทั้งสองนี้ไว้   เพราะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

ในคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอทและความดันโลหิตตัวล่างไม่เกิน  90  มิลลิเมตรปรอท 

อย่างไรก็ตามค่าความดันโลหิตในคนปกติ   ยังมีความแตกต่างกันในคนแต่ละอายุ   เช่นถ้าอายุมากขึ้น ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น   ในผู้ใหญ่ถ้าความดันเลือดสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท ยังไม่ควรด่วนสรุปว่าเป็นความดันสูง  เพราะอาจเกิดจากเดินทางมายังเหนื่อยอยู่  หรือมีอารมณ์เครียด การวัดค่าความดันโลหิตอาจไม่แม่นยำ  

เพราะฉะนั้นควรให้นอนพักผ่อนประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยตรวจวัดใหม่ ถ้าได้ค่าความดันโลหิตเท่าเดิม  หรือใกล้เคียงครั้งก่อน  หรือถ้าสูงอยู่ตลอดจึงจะถือว่าเป็นความดันเลือดสูงได้

 

ค่าความดันโลหิต

 
 

   ค่าความดันที่เหมาะสม

   ค่าความดันปกติ

   ค่าความดันปกติ-สูง

ค่าความดันปกติ-สูง ขั้นที่ 1

ค่าความดันปกติ-สูง ขั้นที่ 2

ค่าบน ( Systolic )

มิลลิเมตรปรอท

ต่ำกว่า 120

120 - 129

130 - 139

140 - 159

160 - 179

ค่าล่าง ( Diastolic  )

มิลลิเมตรปรอท

ต่ำกว่า 80

80 - 84

85 - 89

90 - 99

100 - 109

 
 

        ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่มีความดันโลหิตวัดได้มากว่า 140/90 มม.ปรอท  อันตรายจากความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก , หัวใจโต , ทำให้เกิดโรคไต , และเกิดหัวใจวาย

 

        การใช้ยารักษา กรณีถ้าความดันต่ำลงกว่า 90/50 ต้องหยุดยา แต่ต้องเฝ้าดูอาการ ถ้าขึ้นมาสูงอีก ในขั้นที่ 1-2 ค่อยเริ่มต้นให้ยาใหม่ ทั้งนี้อาจใช้วิธีลดขนาดยาลงก็ได้ การรักษาต้องเฝ้าติดตามตลอดเวลา

 

        ความดันโลหิตต่ำ หมายถึงภาวะที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/50 มม.ปรอท ทำให้ขาดอาหาร ขาดออกซิเจน และการถ่ายของเสียไม่ทัน เซลล์สมอง กล้ามเนื่อหัวใจ และไตขาดออกซิเจน อาจทำให้เป็นลม ชอกและเสียชีวิตได้

 

อัตราการเต้นของหัวใจ

 

ประเภท

ดีมาก

ดี

พอใช้

สูงเกินไป

ผิดปกติ

จำนวนครั้ง/นาที

40-60

61-70

71-85

86-100

มากกว่า 100

 

        ปกติ ในผู้ใหญ่เฉลี่ย ประมาณ 72 ครั้งต่อนาที ( ประมาณช่วง 60-80 ครั้งต่อนาที ) หรือไม่เกิน 100 ถือว่าปกติ แต่ถ้าเกินต้องระวังโรคต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคไทรอยด์เป็นพิษ

 

        แต่ถ้าเต้นช้า และไม่มีอาการเป็นโรคอะไร ถือว่าไม่เป็นไร เช่นพวกนักกีฬาที่ร่างกายแข็งแรงมาก บางครั้งอาการเต้นของหัวใจลดลงเหลือแค่ 40-50 ครั้ง ต่อนาทีเท่านั้น คนกลุ่มนี้จะเหนื่อยช้ากว่าคนปกติ แต่ถ้าเด็กทารก เล็กๆ อัตราการเต้นของหัวใจจะเต้นสูงกว่าคนโต

 

าเหตุของโรคความดันโลหิต

ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุ  เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่  คือ

1. กรรมพันธุ์  ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้  จากหลักฐานทางระบาดวิทยา พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่เป็น  ยิ่งกว่านั้น  ผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดาเป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากที่สุด  ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ๆ

2. สิ่งแวดล้อม  ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้  เช่น  ภาวะอ้วน  เบาหวาน  การรับประทานอาหารรสเค็ม  การดื่มสุรา  และการสูบบุหรี่  ภาวะเครียด  เป็นต้น

       ส่วนความดันโลหิตสูงที่มีสาเหตุพบได้น้อยกว่าร้อยละ 10  ผู้ป่วยในกลุ่มนี้แม้จะพบเป็นจำนวนน้อย แต่ก็มีความสำคัญ  เพราะบางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้  สาเหตุที่พบบ่อย คือ

   
 
  • โรคไต
 
  • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบ 
 
  • ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด
 
  • หลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจตีบ
 
  • เนื้องอกของต่อมหมวกไต

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏอาการให้เห็น   แต่อาการที่พบได้ทั่วไปคือปวดศีรษะ  มักปวดบริเวณท้ายทอย   และจะเป็นในช่วงเช้า   มักพบในคนที่มีอาการรุนแรง และอาการแบบนี้จะหายไปเองได้อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง ในบางครั้งอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น  คลื่นไส้   อาเจียน  ใจสั่น เหนื่อยง่าย  ความรู้สึกทางเพศลดลง  เลือดกำเดาออก   ตาพร่ามัว   ปัสสาวะเป็นเลือด

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในยุคปัจจุบันแพทย์  ผู้ทำการรักษาสมัยใหม่จะไม่ให้ยาลด ความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว  แต่แพทย์ผู้ทำการรักษาจะใช้วิธีรักษาที่สมบูรณ์แบบ โดยการแนะนำให้ผู้ป่วยปรับการใช้ชีวิตประจำวันใหม่ ควบคู่ไปกับการใช้ยา  เช่นให้ออกกำลังกายทุกวัน หรือใช้บางรายอาจใช้สมุนไพรแบบสกัดชนิดแคปซูล ร่วมด้วย   เป็นวิธีรักษา ที่เรียกว่า Complementary treatment เป็นการรักษา  “ แพทย์ทางเลือก ” ( Alternative  medicine ) อย่างหนึ่ง  รวมถึงแนะนำให้ผู้ป่วย พักผ่อนให้เพียงพอ  พยายามหลีกเลี่ยงจากความเครียด   และลดสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น   การเลิกเหล้า   เลิกบุหรี่  งดอาหารเค็มจัด    อาหารรสจัด    และอาหารมันจัดเป็นต้น และผู้ป่วยควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ   ควรมาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง   เพื่อตรวจสุขภาพเป็นระยะ

คลิกอ่านข้อมูล

 
 

สมุนไพรรักษาโรคความดันโลหิตสูง

 
 
ข้อมูลอ้างอิง

http://www.lingzhibook.com/cnnbook/No.54.htm

ชมรมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยเรียบเรียงโดย รศ.นพ. พีระ บูรณะกิจเจริญ

 
 

 

ขอคำปรึกษา 096-890-3983