คำตอบก็คือระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำงานร่วมกัน
เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
ซึ่งวัดได้ 2 ค่า คือ
1. ความดันโลหิตค่าบน คือ
แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวเข้า
2. ความดันโลหิตค่าล่าง
คือ แรงดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัวออก
ถ้าหัวใจและหลอดเลือดทำงานปกติ ความดันของเลือดก็จะปกติ
แต่ถ้าหัวใจสูบฉีดเลือดไม่ดี หรือหลอดเลือดเกิดตีบตันขึ้นมา
ระบบไหลเวียนของเลือดก็จะมีปัญหา
การตรวจความดันสามารถตรวจได้ง่าย
โดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องวัดดังกล่าวจะแสดงค่าของ ความดันโลหิตแบ่งออกเป็นสองตัว คือ
ค่าความดันโลหิตตัวบน และค่าความดันโลหิตตัวล่าง
ค่าความดันโลหิตตัวบน
เป็นค่าความดันของเลือดที่หัวใจสูบฉีดเลือดออกมาเข้าสู่หลอดเลือด
ส่วนค่าความดันโลหิตตัวล่าง
คือค่าความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือด
ในขณะที่หัวใจได้คลายการสูบฉีดเลือดลงแล้ว
ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงควรจำค่าความดันโลหิตทั้งสองนี้ไว้
เพราะมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน
ในคนปกติจะมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140
มิลลิเมตรปรอทและความดันโลหิตตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท
อย่างไรก็ตามค่าความดันโลหิตในคนปกติ ยังมีความแตกต่างกันในคนแต่ละอายุ
เช่นถ้าอายุมากขึ้นความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น
ในผู้ใหญ่ที่อายุมากถ้าความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 มิลลิเมตรปรอท
ยังไม่ควรด่วนสรุปว่าเป็นความดันโลหิตสูง
เพราะอาจเกิดจากการเดินทางมาเหนื่อยอยู่ หรือมีอารมณ์เครียด
การวัดค่าความดันโลหิตอาจไม่แม่นยำ
เพราะฉะนั้นควรให้นอนพักผ่อนประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยตรวจวัดใหม่
ถ้าได้ค่าความดันโลหิตเท่าเดิม หรือใกล้เคียงครั้งก่อน
หรือถ้าสูงอยู่ตลอดจึงจะถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้
|